ความรู้ตามหะดิษนบี(เศาะหี้หฺ)

จ่ายซะกาตฟิตเราะห์หลังรอมฎอน…เป็นฟัรดู

2126858_987

ซะกาตฟิฏเราะฮฺเป็นวาญิบ

ซะกาตฟิฏเราะฮฺช่วยอะไรในการถือศีลอดบ้าง ?
ช่วยทำความบริสุทธิ์ให้แก่ผู้ถือศีลอด ซึ่งบางครั้งผู้ถือศีลอดอาจจะพูดจาไม่สุภาพบ้าง,ด่าทอ เป็นต้น
ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า:
“ท่านรสูลุลลอฮฺกำหนดซะกาตฟิฏเราะฮฺเป็นฟัรฺฎูเพื่อทำให้เกิดความบริสุทธิ์สำหรับผู้ถือศีลอดอันเนื่องจากการพูดที่ไร้สาระและการพูดจาหยาบคาย”
<บันทึกโดยอบูดาวูด หะดีษที่ 1609>

 

ซะกาตฟิฎเราะฮฺ ตามมติฉันท์ของอุละมาอ์ถือเป็นฟัรดู(จำเป็น)

รายงานจากท่านอิบนุอุมัร กล่าวว่า :
“ท่านเราะซูล ได้กำหนดการจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺเป็นผลอินทผลัมจำนวน 1 ทะนาน(ศออ์) หรือข้าวบาเล่ย์จำนวน 1 ทะนาน จำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนมิว่าจะเป็นทาส เป็นไท ชาย หญิง เด็กหรือผู้ใหญ่ และท่านได้สั่งใช้เรื่องดังกล่าวนี้ให้ทุกคนปฏิบัติมันให้เสร็จสิ้นก่อนที่ผู้คนทั้งหลายจะออกไปสู่การละหมาด(อีดุลฟิฏรีย์)
<บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์>

             อัตราของซะกาตฟิฏเราะฮฺ

05

อัตราซะกาตฟิฏเราะฮฺ คือ 1 ศออ์(ทะนาน)จากชนิดอาหารหลักที่ใช้บริโภคในประเทศ จำนวน 1 ศออ์ของท่านนบี ศ็อลฯเท่ากับ 4 มุด ( หรือ 4 กอบมือขนาดปานกลาง) นักวิชาการบางท่านให้ทัศนะว่าเท่ากับ 2.8 กิโลกรัม และบางท่านก็เทียบเท่ากับ 3 กิโลกรัม

ทั้งนี้จากรายของท่านอิบนุอุมัร ว่า : ท่านเราะซูล ได้กำหนดซะกาตฟิฏเราะฮฺเท่ากับผลอินทผลัม 1 ศออ์ หรือข้าวบาเล่ย์ 1 ศออ์ บังคับสำหรับมุสลิมทั้งที่เป็นทาสและเป็นไท ชาย-หญิง หรือเด็กและผู้ใหญ่ โดยท่านได้สั่งให้ปฏิบัติมันให้เสร็จสิ้นก่อนที่ผู้คนจะเดินทางออกไปละหมาด” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์)

มัซฮับชาฟิอีย์เห็นว่าไม่อนุญาติให้จ่ายเป็นอย่างอื่นนอกจากอาหาร ซึ่งใช้บริโภคประจำวันในประเทศเท่านั้น

มัซฮับมาลิกีย์เห็นตรงกับมัซฮับชาฟิอีย์เช่นกัน คือให้จ่ายได้เป็นอาหารเท่านั้น

สำหรับนักวิชาการในสายมัซฮับหัมบะลีย์ เช่นอิบนุกุดามะฮฺกล่าวไว้ในหนังสือ “อัล-มุฆ์นีย์” ว่า “หากผู้ใดสามารถจ่ายเป็นผลอิมทผลัม ผลองุ่นแห้ง ข้าวสาลี ข้าวบาเล่ย์หรือเนยแข็งได้ แต่ใช้สิ่งอื่นแทน การกระทำเช่นนั้นย่อมไม่ถูกอนุญาติ”

กล่าวอีกว่า “สำหรับเราแล้ว คือตามที่ท่านนบีได้กำหนดเป็นทานฟิฏเราะฮฺด้วยชนิด(อาหาร)ที่เจาะจงเฉพาะ มิอาจเทียบเป็นสิ่งอื่นได้ รวมทั้งการออกเป็นราคาอาหารก็เช่นกัน เพราะการที่เอ่ยถึงชนิดอาหาร หลังจากกล่าวถึงบทบัญญัติ เท่ากับเป็นการอธิบายได้อย่างดีถึงสิ่งที่พึงปฏิบัติ”

บุคคลผู้มีสิทธิได้รับซะกาตฟิฏเราะฮฺ

คนยากจนหรือขัดสนเท่านั้น ไม่อนุญาตให้อื่นจากบุคคลข้างต้น ซึ่งซะกาตฟิฏเราะฮฺให้เฉพาะกับบุคคลประเภทเดียวเท่านั้น ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า:
ซะกาตฟิฏเราะฮฺให้แก่ ” บุคคลที่ยากจน (มิสกีน) เท่านั้น” <บันทึกโดยอบูดาวูด หะดีษที่ 1609>

ขณะที่อุละมาอ์สายมาลิกียะฮฺมีทัศนะตามสายรายงานของอิม่ามอะห์มัด คือการแจกจ่ายซะกาตเจาะจงเฉพาะบุคคลที่ยากจน(ฟุเกาะรออ์)และขัดสน(มะซากีน)

ส่วนอิม่ามอัช-ชาฟิอีย์เห็นว่า ซะกาตฟิฏเราะฮฺสามารถแจกจ่ายให้แก่บุคคลประเภทต่างๆเหมือนเช่นซะกาตุลมาลนั้นได้ และไม่อนุญาตแก่บุคคลประเภทอื่น

สำหรับบุคคลที่ไม่สามารถจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺให้ได้ มี 5 ประเภทด้วยกัน คือ

1. คนร่ำรวย หรือบุคคลที่ไม่มีความเดือดร้อนเกี่ยวกับเงิน หรือการทำงานหาปัจจัยใดๆอีกแล้ว เนื่องปรากฏหะดีษหนึ่งที่ท่านนบี กล่าวว่า

“การบริจาคทานมิอาจให้แก่คนร่ำรวย และบุคคลที่มีความเข้มแข็งสมบูรณ์อยู่แล้ว”

<หะดีษหะซัน บันทึกโดยอะหมัด อบูดาวุด อัต-ติรมิซีย์ และอัด-ดารอมีย์>

2. ทาส หรือทาสี เนื่องเขาอยู่ภายใต้การดูแลและรับผิดชอบของผู้เป็นนายอยู่แล้ว และสภาพของตัวเขาเองก็มิอาจถือครองทรัพย์สินใดๆได้ด้วย

3. บุคคลในตระกูลบนูฮาชิม หรือบนูอัล-มุฏเฏาะลิบ เนื่องคำกล่าวของท่านนบี กล่าวว่า

“แท้จริงทานบริจาค(เศาะดะเกาะฮฺ)ไม่สมควรได้แก่ลูกหลานของมุฮัมมัด เพราะแท้จริงแล้วมันคือสิ่งที่ทำให้มนุษย์ต้องด่างพร้อย”

<บันทึกโดยมุสลิม>

4. บุคคลซึ่งอยู่ภายใต้เลี้ยงดูของผู้จ่ายซะกาต หมายถึงเขาจะจ่ายซะกาตนั้นให้แก่ผู้อยู่ภายใต้การปกครองในนามของคนยากจน(ฟุเกาะรออ์)หรือคนขัดสน(มิสกีน)มิได้

5. บุคคลผู้ปฏิเสธ(หรือกาฟิร) เนื่องหะดีษหนึ่งท่านนบี กล่าวว่า

“…ดังนั้นพึงบอกให้พวกเขาทราบเถิดว่า แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงกำหนดให้พวกเขาบริจาคประเภทหนึ่ง ซึ่งรับมาจากบรรดาผู้ร่ำรวยของพวกเขา เพื่อแจกจ่ายในระหว่างบรรดาคนยากจนของพวกเขา”

<บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม>

เวลา และสถานที่จ่ายซะกาตฟิฎเราะฮฺ

คือให้จ่ายในช่วงเวลาก่อนการละหมาดอีด สำหรับอุละมาอ์สายมัซฮับมาลิกียะฮฺ และหะนาบีละฮฺอนุญาติให้จ่ายล่วงหน้าก่อนวันอีดสัก 2-3 วันได้

ส่วนอุละมาอ์สายชาฟิอียะฮฺมีทัศนะว่าสามารถจ่ายได้ตั้งแต่เริ่มเข้าเดือนรอมฏอน แต่ที่ดีที่สุดควรจ่ายก่อนการละหมาดอีด

หากจ่ายซะกาตฟิตเราะห์หลังจากที่อีหม่ามตักบีรร่อตุ๊ลเอียะรอมในละหมาดอีดนั้น จะไม่ถือว่าเป็นการจ่ายซะกาตฟิตเราะห์ จะเป็นเพียงแค่การการบริจาคทาน(ซอดาเกาะห์) และต้องชดใช้(จ่ายซะกาตฟิตเราะห์)ในปีถัดไป

บทเรียนจากหะดีษ

1. กำหนดให้จ่ายซะกาตฟิเราะฮ์ในเดือนรอมฎอน เพื่อให้ผู้ที่ถือศีลอดมีความบริสุทธิ์ และเป็นการช่วยเหลือคนยากจน
2. การจ่ายซะกาตฟิตเราะห์ถูกบัญญัติขึ้น (ฟัรฎู) ในปีที่ 2 หลังจากฮิจญ์เราะฮ์ไปยังนครมะดีนะฮ์
3. มุสลิม ที่วาญิบต้องจ่ายซะกาตได้แก่ ผู้ชาย ผู้หญิง มุสลิมที่เสรีชน คนแก่ หนุ่มสาว จนถึงเด็กทารกที่เพิ่งเกิดในช่วงปลายรอมฎอนก็จะต้องจ่ายซะกาตเช่นเดียวกัน
4. ประเภทซะกาต ได้แก่ ลูกอินทผลัมหรือแป้งสาลี ส่วนข้าวสารนั้นเป็นการกิยาสกับแป้งสาลีที่เป็นอาหารหลัก
5. อัตราซะกาตที่จะต้องจ่าย คือ 1 ศออฺ ( กันตังของชาวมะดีนะห์เท่ากับ 3 ลิตร กับ 1 กระป๋องนมของบ้านเรา)
6. ซะกาตจะต้องจ่ายให้เสร็จสิ้นก่อนละหมาดอีด
7. ผู้ที่มีสิทธิรับซะกาตฟิตเราะห์ คือ 8 จำพวก (เหมือนกับจำพวกที่สามารถรับซะกาตทั่วไป)
8. เวลาที่สามารถจ่ายซะกาตคือ ให้จ่ายในช่วงเวลาก่อนการละหมาดอีด  สำหรับอุละมาอ์สายมัซฮับมาลิกียะฮฺ และหะนาบีละฮฺอนุญาติให้จ่ายล่วงหน้าก่อนวันอีดสัก  2-3 วันได้ ส่วนอุละมาอ์สายชาฟิอียะฮฺมีทัศนะว่าสามารถจ่ายได้ตั้งแต่เริ่มเข้าเดือนรอมฏอน  แต่ที่ดีที่สุดควรจ่ายก่อนการละหมาดอีด
9. ศาสนา อิสลามเป็นศาสนาที่สอนให้ประชาชาติมีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะคนที่มีฐานะร่ำรวยจะต้องช่วยเหลือคนที่ยากจน เพื่อให้เกิดความรักใคร่ เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน

>>>ดังนั้น<<<
ทุกคนจำเป็นที่จะต้องจ่ายซะกาตฟิตเราะห์ ก่อนละหมาดอีดุลฟิฏรีย์ และศาสนาไม่อนุญาติให้จ่ายเป็นเงินนะครับ และจำเป็นต้องจ่ายให้กับบุคคลที่ยากจน (มิสกีน) เท่านั้น
โดยให้จ่ายเป็นข้าวสาร(ซึ่งเป็นอาหารหลักของประเทศไทย) จำนวน1 ศออ์ ก็ประมาณ 2.8 กิโลกรัม
พ่อบ้านจำเป็นจะต้องจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺให้แก่บุคคลภายในบ้านของเขาทั้งหมดนะครับ นี่คือบัญญัติของศาสนา
ส่วนบุคคลที่จะจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺด้วยตนเอง ก็ให้ไปบอกกับพ่อบ้านของตนเองว่าเรามีความประสงค์จะจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺนั่นเอง

อย่าลืมจ่ายให้กับลูกๆถึงแม้ว่าจะเป็นเด็กทารกด้วยนะคับ…

จ่ายซะกาตฟิตเราะห์หลังรอมฎอน…เป็นฟัรดู

ข้างเคียง

ใส่ความเห็น